3. ไม้เนื้ออ่อน
มีหลายชนิดเช่นไม้สยาขาว ไม้ก้านเหลือง ไม้มะยมป่า ไม้ต้นมะพร้าว ซึ่งคุณสมบัติและประโยชน์ที่ควรทราบต่อไปนี้
3.1) ไม้สยาขาว
เป็น ต้นไม้ขนาดใหญ่ ขึ้นตามไหล่เขา และบนเขาในป่าดิบทางภาคใต้บางจังหวัด เช่น ยะลา นราธิวาส ลักษณะเนื้อไม้สีชมพูอ่อนแกมขาวถึงน้ำตาลอ่อนแกมแดง มีริ้วสีแก่กว่าสีพื้นเป็นมันเลื่อมเสี้ยนสับสนเนื้อหยาบอ่อน ค่อนข้างเหนียว ทนทานในร่ม เลื่อย ไส ผ่าได้ง่าย น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 480 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำเครื่องเรือนและส่วนของอาคารที่อยู่ในร่ม เปลือกใช้ทำไม้อัดได้
3.2)ไม้ก้านเหลือง
เป็น ต้นไม้ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ขึ้นตามริมน้ำแม่น้ำลำธาร หรือในที่ชุ่มชื้นทั่วไปลักษณะเนื้อไม้สีเหลืองเข้มถึงสีเหลืองปนแสดเสี้ยน ตรงละเอียดพอประมาณ และอ่อน นำไปเลื่อยไสกบได้ง่ายชักเงาได้ดี น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 540 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำพื้น ฝา เครื่องเรือน หีบใส่ของ
3.3)ไม้มะยมป่า
เป็น ไม้ขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ขึ้นประปรายในป่าดิบชื้นหรือป่าเบญจพรรณชื้นทั่วไป ลักษณะเนื้อไม้ไม่มีแก่นสีจากถ้าถูกอากาศนานๆ สีจะนวลขึ้น เสี้ยนตรง เนื้อหยาบ แต่สม่ำเสมอและอ่อนไสกับได้ง่าย น้ำหนักโดยเฉลี่ยประมาณ 400 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใช้ทำก้านไม้ขีดไฟ กลักไม้ ขีดไฟ หีบใส่ของ ปัจจุบันใช้ทำเครื่องเรือนต่างๆ
3.4)ไม้ต้นมะพร้าว
เนื้อ มีความหนาแน่นใช้เป็นโครงสร้างได้ ความหนาแน่นตรงริมมีมากกว่าตรงกลางต้นตอนกลางๆ มีความหนาแน่น 400 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่ตอนริมมีความหนาแน่นถึง 600 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
3.5 ไม้ฉำฉา (จามจุรี , ก้ามปู )
มี ชื่อทางสามัญว่า Rain Tree มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Samanea saman ในอดีตมนุษย์ไม่ค่อยเห็นคุณค่าของไม้ฉำฉามากนัก เพราะไม้ที่มีคุณภาพ อย่างเช่นไม้สัก ไม้แดง หาได้ง่ายและราคาไม่แพง แต่ในปัจจุบันได้มีกฎหมายคุ้มครองไม้เหล่านี้ ทำให้ไม้เหล่านี้หายากอีกทั้งยังเสี่ยงต่อกฎหมาย ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่นิยมนำไม้ฉำฉามาใช้แทนไม้สักอย่างเห็นได้ชัดประโยชน์ ของไม้ฉำฉา
ไม้ฉำฉาสามารถนำมาแกะสลักเป็นรูปต่าง ๆ เช่น หน้าคน ช้าง ม้า เป็นต้น
ไม้ฉำฉานำมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้สำหรับใช้ในที่ร่มได้ดี
สามารถใช้เป็นที่เลี้ยงครั่ง เพื่อนำไปจำหน่ายโดยที่ต้นฉำฉาไม่ตาย
สามารถนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ได้
ที่มา: ข้อมูลจาก “ไม้เนื้อแข็งของประเทศไทย” ฝ่ายวิจัยไม้กรมป่าไม้